วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

#สัปดาห์ที่9 : แบตเตอรี่กระดาษที่ขับเคลื่อนโดยแบคทีเรีย


ในพื้นที่ห่างไกลของโลกหรือในภูมิภาคที่มีทรัพยากร จำกัด รายการประจำวันเช่นเต้ารับไฟฟ้าและแบตเตอรี่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย คนงานดูแลสุขภาพในพื้นที่เหล่านี้มักไม่มีไฟฟ้าจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์การวินิจฉัยและแบตเตอรีในเชิงพาณิชย์อาจใช้ไม่ได้หรือแพงเกินไป จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟใหม่ ๆ ซึ่งมีราคาถูกและพกพาได้ วันนี้นักวิจัยรายงานว่าแบตเตอรี่ชนิดใหม่ทำด้วยกระดาษและบรรจุด้วยเชื้อแบคทีเรียซึ่งสามารถเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ได้
นักวิจัยจะนำเสนอผลของพวกเขาในวันนี้ที่งานประชุมและนิทรรศการแห่งชาติครั้งที่ 256 ของสมาคมเคมีอเมริกัน (ACS)
"กระดาษมีข้อได้เปรียบที่ไม่เหมือนใครเป็นวัสดุสำหรับไบโอเซนเซอร์" Seokheun (Sean Choi, Ph.D. ) ผู้ซึ่งนำเสนอผลงานในที่ประชุมกล่าว "มีราคาไม่แพงใช้แล้วทิ้งมีความยืดหยุ่นและมีพื้นที่ผิวสูงอย่างไรก็ตามเซ็นเซอร์ที่ซับซ้อนจำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟแบตเตอรี่ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์นั้นสิ้นเปลืองและมีราคาแพงมากเกินไปและไม่สามารถรวมเข้ากับพื้นผิวกระดาษได้วิธีที่ดีที่สุดคือกระดาษ - เบสไบโอแบตเตอรี่ "
นักวิจัยได้พัฒนาอุปกรณ์ไบโอเซนเซอร์แบบใช้แล้วทิ้งเพื่อการวินิจฉัยโรคและภาวะสุขภาพที่ถูกและสะดวกสบายรวมทั้งการตรวจหาสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ดังกล่าวหลายชนิดอาศัยการเปลี่ยนแปลงสีเพื่อรายงานผล แต่มักไม่ค่อยมีความละเอียดอ่อน เพื่อเพิ่มความไว, ไบโอเซนเซอร์จำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายไฟ Choi ต้องการพัฒนาแบตเตอรี่กระดาษที่มีราคาไม่แพงซึ่งขับเคลื่อนโดยแบคทีเรียซึ่งสามารถรวมไว้ในอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ง่ายเหล่านี้
Choi และเพื่อนร่วมงานของเขาที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐ New York Binghamton ได้ผลิตแบตเตอรี่กระดาษด้วยการพิมพ์โลหะบาง ๆ และวัสดุอื่น ๆ ลงบนพื้นผิวกระดาษ จากนั้นพวกเขาวาง "exoelectrogens" แห้งบนกระดาษ Exoelectrogens เป็นแบคทีเรียชนิดพิเศษที่สามารถถ่ายโอนอิเล็กตรอนนอกเซลล์ได้ อิเล็กตรอนซึ่งสร้างขึ้นเมื่อแบคทีเรียทำพลังงานให้ตัวเองผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ พวกเขาสามารถติดต่อกับขั้วไฟฟ้าภายนอกและใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้ ในการเปิดใช้งานแบตเตอรี่นักวิจัยได้เพิ่มน้ำหรือน้ำลาย ภายในเวลาไม่กี่นาทีของเหลวจะทำให้แบคทีเรียฟื้นตัวขึ้นซึ่งผลิตอิเล็กตรอนมากพอที่จะทำให้ไดโอดเปล่งแสงและเครื่องคิดเลข
นักวิจัยยังได้ศึกษาว่าอ๊อกซิเจนมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์อย่างไร ออกซิเจนซึ่งไหลผ่านกระดาษได้อย่างง่ายดายอาจทำให้เกิดอิเล็กตรอนที่แบคทีเรียผลิตขึ้นก่อนที่จะไปถึงอิเลคโทรด ทีมงานพบว่าแม้ว่าปริมาณออกซิเจนจะลดลงเล็กน้อย แต่ผลกระทบก็น้อยมาก เนื่องจากเซลล์แบคทีเรียติดแน่นกับเส้นใยกระดาษซึ่งดึงอิเล็กตรอนไปยังขั้วบวกอย่างรวดเร็วก่อนที่ออกซิเจนจะเข้าไปแทรกแซง
แบตเตอรี่กระดาษซึ่งสามารถใช้งานได้เพียงครั้งเดียวและถูกทิ้งไปในปัจจุบันมีระยะเวลาการเก็บรักษาประมาณ 4 เดือน Choi กำลังทำงานอยู่ในเงื่อนไขเพื่อปรับปรุงการอยู่รอดและประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียที่แช่แข็งทำให้มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น Choi กล่าวว่า "ประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้ายังต้องได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นประมาณ 1,000 เท่าสำหรับการใช้งานที่เป็นประโยชน์มากที่สุดสามารถทำได้โดยการซ้อนและการเชื่อมต่อแบตเตอรี่กระดาษหลายเขาบันทึก Choi ได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรแบตเตอรี่และกำลังหาคู่ค้าอุตสาหกรรมเพื่อการพาณิชย์
นักวิจัยได้รับทราบถึงการสนับสนุนและการระดมทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสำนักงานการวิจัยทางทะเลและมูลนิธิการวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ค
ความคิดเห็น:แบตเตอรี่กระดาษทำให้ประหยัดมากขึ้นและมีประโยชน์มากกว่า

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

#สัปดาห์ที่8 : นักวิทย์ค้นพบ 4 ธาตุสังเคราะห์ใหม่ เตรียมบรรจุในตารางธาตุ


 เว็บไซต์แอร์แอสแอน,คอมโซมอลสกายาปราฟดา และ informing.ru ของรัสเซียรายงานว่า ยืนยันการค้นพบธาตุสังเคราะห์เลขอะตอม 113, 115, 117 และ 118 และเตรียมบรรจุในตารางธาตุสากล หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์รัสเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา สามารถค้นพบธาตุสังเคราะห์ 4 ชนิด
นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบธาตุสังเคราะห์จะมีสิทธิ์กำหนดชื่อเป็นการเฉพาะด้วย ก่อนหน้านั้น ธาตุเลขอะตอม 113, 115, 117 และ 118 ซึ่งเป็นธาตุคาบ 7 ตามตารางธาตุสากล มีชื่อเรียกชั่วคราวว่า "อูนอูนเทรียม" (Uut), "อูนอูนเพนเทียม" (Uup), "อูนอูนเซปเทียม" (Uus), และ "อูนอูนออกเทียม" (Uuo) ตามลำดับ การค้นพบธาตุสังเคราะห์ใหม่ 4 ชนิด ทำให้ธาตุคาบ 7 มีครบเต็มตาราง
สำหรับธาตุ Uup-115 และ Uus-117 ค้นพบโดยสถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ของรัสเซีย (JIRN) ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนส์ลิเวอร์มอร์ (LLNL) และห้องปฏิบัติการโอ๊กริดจ์ (ORNL) ของสหรัฐฯ ขณะที่ธาตุ Uuo-118 ค้นพบโดย JIRN และ LLNL เมื่อเดือนต.ค.2549
ที่มา: www.khaosod.co.th
ความคิดเห็น :เป็นสิ่งที่ดีที่มีการค้นพบธาตุใหม่ ทำให้ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับธาตุมากขึ้น




#สัปดาห์ที่7: นักวิจัยพัฒนาฟิล์มนาโนฯติดหน้าต่างเพิ่มอุณหภูมิให้กับห้องในฤดูหนาว


ประเทศแถบฤดูหนาวมักเจอปัญหาเหมือนกันคือเครื่องทำความร้อนหรือHeater ต้องทำงานอย่างหนักในการทำให้อุณหภูมิในห้องคงที่ตลอดเวลา เนื่องด้วยกระจกหน้าต่างเป็นส่วนที่ต้องแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่าง Heater และอากาศภายนอกอยู่เสมอ ดังนั้นนักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยกอเทนเบิร์กจากสวีเดนสามารถผลิตฟิล์มติดกระจกที่สามารถเพิ่มความร้อนเองได้ เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แผ่นฟิล์มมีคุณสมบัติเฉพาะอยู่ด้วยกัน2-3รายการ ดังนี้
1.แต่ละบริเวณของฟิล์มจะมีหัวรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดเล็กกระจายอยู่เต็มแผ่น
2.เสาสัญญาณจะดักจับแสงจากดวงอาทิตย์ และเกิดการสั่นของอิเล็กตรอนจนสร้างความร้อนให้กับแผ่นฟิล์ม
3.ความร้อนจะถูกถ่ายโอนให้กับกระจก
4.แผ่นฟิล์มมีความโปร่งแสงสูงมาก เหมือนกับไม่มีการติดฟิล์มใดๆ

ที่มา:https://www.thaiphysicsteacher.com
ความคิดเห็น: มีประโยชน์อย่างยิ่งทำให้heaterทำงานหนักน้อยลง

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

#สัปดาห์ที่6 : นักวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมหวังใช้แทนลิเธียมที่มีราคาแพงกว่า


นักวิจัยจาก Stanford พัฒนาแบตเตอรี่ที่ทำจากโซเดียมหวังใช้ทดแทน Lithium ซึ่งนิยมใช้ในปัจจุบัน
Zhenan Bao นักวิศวกรเคมี และทีมวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุศาสตร์อีก2ท่าน คือ Yi Cui และ William Chueh ไม่ใช่เป็นนักวิจัยชุดแรกที่ต้องการจะทำแหล่งพลังงานจากโซเดียม แต่เขาเชื่อว่ามันเป็นไปได้ที่จะทำ และหากทำได้จะลดต้นทุนการผลิตถึง80% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ที่ทำจาก Lithium ขนาดความจุเท่ากัน
นักวิจัยได้ใช้โซเดียมทำเป็นขั้วแคโทดโดยเป็นขั้วที่ส่งผ่านอิเล็กตรอนไปยังขั้วแอโนด เพราะโซเดียมเพีรียวๆจะมีขั้วเป็นบวก ซึ่งหมายถึงมันสูญเสียอิเล็กตรอนได้ง่าย
สำหรับตัวต้นแบบนั้น Min Ah lee นักวิจัยอีกท่านได้พัฒนาโซเดียมและสาร Myo-inositol (เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิล6หมู่) โดยช่วยให้อิเล็กตรอนไหลได้ดียิ่งขึ้น
วิธีหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบว่าแบตเตอรี่ที่ใช้โซเดียมนั้นดีีกว่าลิเธียมไม่นั้น ดูจากความหนาแน่นของพลังงานเชิงปริมาตรหรือเทียบง่ายๆว่าต้องสร้างแบตเตอรี่โซเดียมกี่เซลล์ถึงจะเก็บพลังงานได้เท่ากับแบตเตอรี่ที่ทำจากลิเธียม (นอกจากนี้ยังดูจาก Life Cycleในการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยว่าได้กี่รอบ หรืออายุใช้งานนานเท่าใด)
ที่มา: https://www.thaiphysicsteacher.com
ความคิดเห็น : เป็นความคิดที่ดีเพราะเป็นการลดต้นทุนในการผลิต


#สัปดาห์ที่5 : อย.เตือนครีมปรอทผิวขาวอันตรายเผยเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หญิงตั้งครรภ์ใช้อาจทำให้ทารกพิการ

เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และโฆษกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวถึงกรณีที่ เพจ “แหม่มโพธิ์ดำ” เปิดเผยว่ามีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “ครีมปรอท” ครีมช่วยผิวขาว โดยติดฉลากชัดเจนไม่หวาดกลัวกฎหมาย จนมีผู้มาแสดงความคิดเห็นว่า มีคนเชื่อไปซื้อมาใช้ ว่า กรณีนี้หากมีการติดฉลากบนตัวผลิตภัณฑ์ชัดเจนถือว่าผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2558 แน่นอน เนื่องจากสารปรอท เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หากตรวจพบถือว่าเป็นเครื่องสำอางไม่ปลอดภัยในการใช้ และหากผู้ขายผู้ผลิตผู้นำเข้าละเมิด ย่อมมีความผิดหมด โดยหากพบว่ามีการละเมิดและผลิตหรือนำเข้ามาจะมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้จำหน่ายหรือผู้ขายจะมีโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ครีมที่มีสารปรอท ถือว่าอันตรายมากๆ เพราะนอกจากจะส่งผลต่อผิวทำให้เกิดผิวด่างขาวแล้ว หากรับเข้าไปในร่างกาย สะสมมากๆ จะส่งผลต่อระบบปลายประสาท และเป็นอันตรายต่อไต ทำให้ไตพิการ และเสียชีวิต
ภก.ประพนธ์ กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ยิ่งต้องระวัง เพราะหากใช้ไปจะมีผลต่อทารกในครรภ์ ทำให้พิการได้
ที่มา: khaosod
ความคิดเห็น : ควรเลือกใช้เครื่องสำอางอย่างระมัดระวัง 

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

#สัปดาห์ที่4 : เตือนภัย'ข้าวปนพิษ'ตาย-ทำลายประสาท

            หลังการเผยแพร่ข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวว่าใช้สารเคมีจำนวนมหาศาล เพื่อรมควันข้าวที่เก็บไว้ในโกดัง จนสร้างความหวาดผวาให้แก่ผู้บริโภคนั้น กรมการค้าภายในได้สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวสารจากโครงการรับจำนำข้าว ที่บรรจุถุงวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป รวมถึงห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ เพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบทางเคมี จากนั้นได้แถลงข่าวว่าไม่มีสารฟอสฟินตกค้างจากการรมควันป้องกันแมลงและมอด!!

             อย่างไรก็ตาม เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคดูเหมือนยังไม่มั่นใจในการพิสูจน์ข้างต้น เนื่องจากไม่ได้ตรวจละเอียดข้าวทุกถุง ยิ่งไปกว่านั้นแม้สารตกค้างจะไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด แต่หากกินต่อเนื่องสารเคมีพิษจะค่อยๆ สะสมอยู่ในร่างกายระยะยาว อาจทำให้เกิดมะเร็งตับ ระบบประสาทผิดปกติ ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ ฯลฯ

              ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตรให้ข้อมูลว่า สารเคมีที่นิยมใช้รมข้าวเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชในไทย อยู่มี 3 ชนิด คือ "อลูมิเนียมฟอสไฟด์" (Aluminium Phosphide) "เมทิลโบรไมด์" (Methyl bromide) และ "คลอโรพิคริน"  (Chloropicrin) โดย อลูมิเนียมฟอสไฟด์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า "ฟอสฟิน" เป็นสารเคมีใช้ผสมกับอาหารเพื่อฆ่าหนู หรือนำมาใช้รมควันพืชผลทางการเกษตรฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อรา และใช้อบรมควันในเรือพาณิชย์ที่ใช้ขนส่งอาหารต่างๆ เป็นหนึ่งในสารเคมีที่มีพิษสูงมาก ทำลายระบบหลอดเลือดและหัวใจและอวัยวะภายใน ทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เคยให้สัตว์ทดลองสูดดมแล้วตายทันทีถึงร้อยละ 50

    ส่วน "เมทิลโบรไมด์" มีอันตรายไม่น้อยกว่าตัวแรก พิษร้ายทำลายอวัยวะภายใน ปอด หากได้รับปริมาณมาก อาจทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หรือส่งผลให้ระบบประสาทเสียหายแบบถาวร งานวิชาการชี้ชัดว่าสารเคมีตัวนี้มีฤทธิ์ทำลายสารพันธุกรรมมนุษย์และสัตว์ นักวิจัยสหรัฐอเมริกาทำวิจัยโดยติดตามเกษตรกรและคู่สมรส 7,814 คน ช่วงระหว่างปี 2536-2550 พบว่า ผู้ใช้เมทิลโบรไมด์มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนที่ไม่ได้สัมผัสสารตัวนี้สูงถึง 1.4-3 เท่า ยิ่งใช้มากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังมีมติให้ยกเลิกใช้สารตัวนี้เพราะทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศส่งผลให้โลกร้อน 
 สำหรับ "คลอโรพิคริน" มีบันทึกว่าเป็นหนึ่งในสารพิษที่เคยใช้เป็นอาวุธเคมีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 บางครั้งใช้ผสมในแก๊สน้ำตาสำหรับปราบจลาจล ด้วยฤทธิ์ร้ายแรงทำให้สามารถฆ่าแมลงที่มาทำลายผลิตผลเกษตร เมืองไทยนิยมใช้ร่วมกับเมทิลโบรไมด์ สารเคมีตัวนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางการหายใจ กิน และดูดซึมเข้าทางผิวหนัง หากใครสัมผัสใกล้ชิดจะปวดแสบดวงตาอย่างมาก บางกรณีกระจกตาลอก ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง ฯลฯ หากสูดดมเข้าไปแค่เพียง 119 ส่วนในล้านส่วนในเวลา 30 นาที อาจทำให้เสียชีวิตได้จากภาวะปอดบวมน้ำ  ถ้าไม่เสียชีวิตจะมีอาการทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อนานต่อเนื่องหลายสิบวัน

ที่มา: komchadluek
ความคิดเห็น:ถ้าไม่ใส่สารเคมีรมข้าว มอดก็จะเต็มไปหมด ดังนั้นควรซาวหลายๆครั้งเพื่อป้องกันสารเคมี



#สัปดาห์ที่3 : องอาจเตือนกินน้ำพริกแมงดาเจอสารแต่งกลิ่นถึงขั้นชีวิต!


องอาจเตือนกินน้ำพริกแมงดาเจอสารแต่งกลิ่นถึงขั้นชีวิต!
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก ทำเนียบรัฐบาลดุสิตว่า นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนสมาพันธ์ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค กรุงเทพมหานคร กรณีการนำวัตถุแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์กลิ่นแมงดานามาทำนำพริกแมงดา ซึ่งเมื่อรับประทานแล้วมีอาการปวดท้อง และเมื่อสัมผัสโดนผิวหนังเกิดอาการผื่นคัน รวมทั้งหยดลงบนกล่องโฟมแล้วสารเคมีจะทำปฏิกริยาละลายโฟมได้ จึงได้ให้ ศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าอันตราย ตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงพบว่า วัตถุแต่งกลิ่น รส สังเคราะห์แมงดานาที่จำหน่ายในท้องตลาด เป็นสารเคมีสังเคราะห์ขึ้น เพื่อให้เกิด กลิ่น รส ตามต้องการ

นายองอาจ กล่าวว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายตามท้องตลาด มักแสดงฉลากไม่ครบถ้วนผู้ประกอบการบางรายไม่ระบุส่วนประกอบและปริมาณการใช้ที่ชัดเจน ซึ่งหากผู้บริโภคไม่อ่านฉลาก และไม่ทำความเข้าใจกับวิธีการใช้งานในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเคมีมากเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เช่น คลื่นไส้ เวียนศรีษะ ปวดท้อง ท้องร่วง เป็นต้น

จากการสำรวจตลาดและการใช้งานวัตถุสังเคราะห์แต่ง กลิ่น รสชาติอาหาร พบว่า มีวางจำหน่ายอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 วัตถุแต่งกลิ่นรสธรรมชาติ เป็นการนำพืชหรือวัตถุจากธรรมชาติมาสกัด กลิ่น รส โดยวิธีทางกายภาพ เช่น ใบเตย อ้อย ฝักวนิลา ใบตะไคร้หอม มะนาว เป็นต้น
ประเภทที่ 2 วัตถุแต่งกลิ่นรส เลียนธรรมชาติ เป็นการสกัด กลิ่น รส จากพืชหรือวัตถุจากธรรมชาติโดยวิธีทางเคมี ซึ่งผู้บริโภคสังเกตได้จากฉลากจะปรากฏคำว่า ?สารแต่ง กลิ่นรส เลียนธรรมชาติ? เช่น กลิ่นวนิลา กลิ่นนมแมว กลิ่นแอลมอนด์ กลิ่นช้อคโกแลต เป็นต้น
ประเภทที่ 3 วัตถุแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ เป็นการนำสารเคมีมาผสมกันและสังเคราะห์ให้เกิด กลิ่น รส ตามที่ต้องการ เช่น กลิ่นแมงดานา กลิ่นสตรอเบอรรี่ เป็นต้น
นายองอาจ กล่าวว่า จากการศึกษาวัตถุแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ ?กลิ่นแมงดานา? เกิดจากส่วนผสมสารเคมี 4 ชนิด ได้แก่โพรพีลินไกลคอล เอทิลอะซีเตท เฮกซิลอะซีเตท ไดเมทิลซัลไฟด์ ซึ่งสารเคมีบางชนิดอาจออกฤทธิ์เป็นอันตรายเฉียบพลันที่มีผลทำให้หนูตายได้ถึงร้อยละ 50 หากได้รับปริมาณเกิน 3.7 กรัมต่อกิโลกรัม
นายองอาจ กล่าวอีกว่า ตามท้องตลาดผู้ประกอบการอาหารทั่วไป นิยมใช้วัตถุแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์จำนวนมาก เพื่อลดต้นทุน อาทิ
1.น้ำมะนาวเทียมหรือกรดมะนาว เกิดจาก น้ำผสมกรดซิตริก โดยไม่มีส่วนผสมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะนาวเลย ผู้ประกอบการร้านอาหารนิยมนำมาทำ ส้มตำ ยำ หรือน้ำจิ้มเลิศรสต่างๆ ซึ่งหากรับประทานปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือท้องร่วงได้
2.ผงชูรส โดยมาตรฐานกำหนดการบริโภคไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งหากรับประทานมากเกินไปจะเกิดอาการชาปลายลิ้น ชาปลายนิ้ว แน่นหน้าอก เรียกอาการดังกล่าวว่า การแพ้ผงชูรส หรือโรค Chinese Restaurant Syndrome
ดังนั้น ภายใต้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ คคบ.ตนจะมอบหมายให้เลขาธิการสคบ.และคณะกรรมการว่าด้วยฉลากไปพิจารณาออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 ที่ว่าด้วยสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ สุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องในการใช้สินค้า หรือโดยสภาพของสินค้านั้น หรือมีสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจำ ซึ่งการกำหนดฉลากของสินค้านั้น จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการที่จะทราบข้อเท็จจริง ในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น แต่สินค้าดังกล่าวไม่เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ให้คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก มีอำนาจกำหนดให้สินค้านั้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยจะเร่งรัดให้มีการออกประกาศให้เป็นสินค้าควบคุมฉลากภายใน 30 วัน หลังจากนั้นหากพบว่ามีการฝ่าฝืน ผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีที่เป็นผู้จำหน่ายสินค้าที่ควบคุมฉลากแต่ไม่จัดให้มีฉลากหรือมีฉลากที่ไม่ถูกต้อง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายองอาจ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการควบคุมการใช้วัตถุแต่งกลิ่น รส สังเคราะห์นั้น จะกำหนดให้ผู้ผลิตนำเข้าหรือจำหน่าย ต้องจดแจ้งรายละเอียดให้ครบถ้วนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่ ส่วนประกอบหลัก ผลการทดสอบความปลอดภัยและการรับรอง ด้านอาหาร ติดฉลากระบุส่วนประกอบ ปริมาณการใช้ที่เหมาะสม ระบุวันผลิตและหมดอายุ สถานที่ตั้งของผู้ผลิตนำเข้า รวมทั้งคำเตือนต่าง ๆ โดยใช้ตัวอักษรที่สามารถเห็นได้ชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย
ความคิดเห็น:ผู้ผลิตควรจะระบุรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วนและไม่ควรใช้สารแต่งกลิ่นจนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค